การประกันคุณภาพภายใน สกอ.

คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์    ประจำปี พ.ศ. 2554

ที่ ชื่อองค์ประกอบ
01 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
1.1.    กระบวนการพัฒนาแผน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการจัดทําแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับนโยบายของสภาสถาบัน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบัน 0
2. มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ระดับสถาบันไปสู่ทุกหน่วยงานภายใน 0
3. มีกระบวนการแปลงแผนกลยุทธ์เป็นแผนปฏิบัติการประจําปีครบ 4 พันธกิจ คือ ด้านการ เรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม 0
4. มีตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจําปี และค่าเป้าหมายของแต่ละ ตัวบ่งชี้ เพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจําปี 0
5. มีการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปีครบ 4 พันธกิจ 0
6. มีการติดตามผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา 0
7. มีการประเมินผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ รายงานผลต่อผู้บริหารและสภาสถาบันเพื่อพิจารณา 0
8. มีการนําผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของสภาสถาบันไปปรับปรุงแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจําปี 0

02 การผลิตบัณฑิต
2.1.    มีระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนด 0
2. มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กําหนดโดยคณะกรรมการการ 0
3. ทุกหลักสูตรมีการดําเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 0
4. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกํากับให้มีการดําเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบ เวลาที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ 0
5. มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกํากับให้มีการดําเนินการได้ครบถ้วนทั้งข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินใน ข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดําเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติจะต้องควบคุมกํากับให้การดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร 0
6. มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรระหว่างสถาบันกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ เกี่ยวของกับวิชาชีพของหลักสูตรมากกว่าร้อยละ 30 ของจํานวนหลักสูตรวิชาชีพทั้งหมดทุก ระดับการศึกษา 0

2.2.    อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 0

2.3.    อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ 0

2.4.    ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีแผนการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ เทคนิคการสอนและการวัดผล และมีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีการวิเคราะห์ข์อมูลเชิงประจักษ์ 0
2.. มีการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนให้เป็นไปตามแผนที่กําหนด 0
3. มีสวัสดิการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกําลังใจให้คณาจารย์และบุคลากรสาย สนับสนุน 0
4. มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนําความรู้และทักษะที่ได้จากการ พัฒนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 0
5. มีการให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน และดูแลควบคุมให้ คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนถือปฏิบัติ 0
6. มีการประเมินผลความสําเร็จของแผนการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร สนับสนุน 0
7. มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และ บุคลากรสายสนับสนุน 0

2.5.    ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการจัดการหรือจัดบริการเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในอัตราไม่สูงกว่า 8 FTES ต่อเครื่อง 0
2. มีบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฝึกอบรกมการใช้งานแก่นักศึกษาทุกชั้นปีการศึกษา 0
3. มีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาอย่างน้อยในด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การศึกษา และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 0
4. มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่น ๆ อย่างน้อยในด้านงานทะเบียนนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การบริการอนามัยและการรักษาพยาบาล การจัดการหรือจัดบริการด้านอาหารและสนามกีฬา 0
5. มีระบบสาธารณูปโภคและรักษาความปลอดภัยของอาคารตลอดจนบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยในเรื่องประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดน้ำเสีย การจัดการขยะ รวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีย์ภัยในบริเวณอาคารต่าง ๆ โดยเป็นไปตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 0
6. มีผลการประเมินคุณภาพของบริการในข้อ 2-5 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 0
7. มีการนำผลการประเมินคุณภาพในข้อ 6 มาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากาจัดบริการด้านกายภาพที่สนองความต้องการของผู้รับบริการ 0

2.6.    ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญทุกหลักสูตร 0
2. ทุกรายวิชามีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอน ในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กําหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 0
3. ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก การปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทําวิจัย 0
4. มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามี ส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร 0
5. มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการ เรียนการสอน 0
6. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่ง สนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจแต่ละ รายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 0
7. มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนหรือการประเมินผลการ เรียนรู้ ทุกรายวิชา ตามผลการประเมินรายวิชาสถาบันหรือคณะวิชาควรมีการตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบหลักสูตร ทําหน้าที่ต่อไปนี้ 0

2.7.    ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการสํารวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต อย่างน้อย สําหรับทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทุกรอบระยะเวลาตามแผนกําหนดการศึกษาของ หลักสูตร 0
2. มีการนําผลจากข้อ 1 มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผล การศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึง ประสงค์ ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต 0
3. มีการส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่ เอื้อต้อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต 0
4. มีระบบและกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมวิชาการหรือนําเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหวางสถาบัน หรือที่ประชุม ระดับชาติหรือนานาชาติ 0
5. มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่จัด โดยสถาบัน 0

2.8.    ระดับความสําเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการกำหนดพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริมไว้เป็นลายลักอักษร 0
2. มีการถ่ายทอดหรือเผยแพร่พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริตามข้อ 1 ไปยังผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึงทั้งสถาบัน 0
3. มีโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่กำหนดในข้อ 1 โดยระบุตัวบ่งชี้และเป้าหมายวัดความสำเร็จ 0
4. มีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมคุณะรราจริยธรรมของนักศึกษาตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 3 โดยมีผลการประเมินบรรลุเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 90 ของตัวบ่งชี้ 0
5. มีนักศึกษาหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษาได้รับการยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณด้านคุรธรรมจริยธรรม โดยหน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติ 0

03 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
3.1.    ระบบและกลไกการให้คําปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสาร
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการจัดบริการให้คําปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา 0
2. มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา 0
3. มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพแก่นักศึกษา 0
4. มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่า 0
5. มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้ศิษย์เก่า 0
6. มีผลการประเมินคุณภาพของการใหบริการในข้อ 1 - 3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนน เต็ม 5 0
7. มีการนําผลการประเมินคุณภาพของการให้บริการมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดบริการที่ สนองความต้องการของนักศึกษา 0

3.2.    ระบบกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. สถาบันจัดทําแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน 0
2. มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา 0
3. มีการส่งเสริมให้นักศึกษานําความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมนักศึกษา สําหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันควรส่งเสริมให้นักศึกษาจัดทํา แผนการจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาที่ดําเนินการโดยนักศึกษาอย่างน้อย 5 ประเภท
- กิจกรรมวิชาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
- กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ
- กิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
- กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
0
4. มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบัน และมีกิจกรรมร่วมกัน 0
5. มีการประเมินความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา 0
6. มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา 0

04 การวิจัย
4.1.    ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนด้านการ วิจัยของสถาบัน และดําเนินการตามระบบที่กําหนด 0
2. มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนการสอน 0
3. มีการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัย แก่อาจารย์ประจําและนักวิจัย 0
4. มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 0
5. มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของสถาบัน 0
6. มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนในข้อ 4 และข้อ 5 อย่างครบถ้วนทุกประเด็น 0
7. มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของ สถาบัน 0
8. มีระบบและกลไกเพื่อสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือจาก สภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และดําเนินการ ตามระบบที่กําหนด (เฉพาะกลุ่ม ข และ ค 2) 0

4.2.    ระบบและกลไกการจัดการความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ 0
2. มีระบบและกลไกการรวบรวม คัดสรร วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัย 0
3. มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้จากข้อ 2 สู่ สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง 0
4. มีการนําผลงานงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีการรับรองการใช้ ประโยชน์จริงจากหน่วยงานภายนอกหรือชุมชน 0
5. มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ่มครองสิทธิของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ ประโยชน์และดําเนินการตามระบบ ที่กําหนด 0
6. มีระบบและกลไกส่งเสริมการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร และมีการยื่นจดสิทธิบัตรและอนุ สิทธิบัตร (เฉพาะกลุ่ม ค1 และ ง) 0

4.3.    เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 0
2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 0
3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ 0

05 การบริการทางวิชาการแก่สังคม
5.1.    ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม และดําเนินการตามระบบที่กําหนด 0
2. มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน 0
3. มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย 0
4. มีการประเมินผลความสําเร็จของการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียน การสอนและการวิจัย 0
5. มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียน การสอนและการวิจัย 0

5.2.    กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชนต่อสังคม
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการสํารวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อ ประกอบการกําหนดทิศทางและการจัดทําแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบัน 0
2. มีความร่วมมือด้านบริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพ 0
3. มีการประเมินประโยชนหรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคม 0
4. มีการนําผลการประเมินในข้อ 3 ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทาง วิชาการ 0
5. มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายใน สถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชน 0

06 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
6.1.    ระบบและกลไกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม และดําเนินการตามระบบที่กําหนด 0
2. มีการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและ กิจกรรมนักศึกษา 0
3. มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน 0
4. มีการประเมินผลความสําเร็จของการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม กับ การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา 0
5. มีการนําผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับ การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา 0
6. มีการกําหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรมและมีผลงานเป็นที่ยอมรับ ในระดับชาติ 0

07 การบริหารและการจัดการ
7.1.    ภาวะผู้นําของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. สภาสถาบันปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดครบถ้วนและมีการประเมินตนเองตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนดล่วงหน้า 0
2. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ กําหนดทิศทางการดําเนินงาน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรทุก ระดับ มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์ มีการนําข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการ ปฏิบัติงานและพัฒนาสถาบัน 0
3. ผู้บริหารมีการกํากับ ติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามที่มอบหมาย รวมทั้งสามารถ สื่อสารแผนและผลการดําเนินงานของสถาบันไปยังบุคลากรในสถาบัน 0
4. ผูบริหารสนับสนุนให้บุคลากรในสถาบันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ให้อํานาจในการ ตัดสินใจแก่บุคลากรตามความเหมาะสม 0
5. ผู้บริหารถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาผู้ร่วมงานเพื่อให้สามารถทํางานบรรลุวัตถุประสงค์ ของสถาบันเต็มตามศักยภาพ 0
6. ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคํานึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 0
7. สภาสถาบันประเมินผลการบริหารงานของสถาบันและผู้บริหารนําผลการประเมินไปปรับปรุง การบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม 0

7.2.    การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผน กลยุทธ์ของสถาบันอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย 0
2. กําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการ วิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 0
3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่ บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด 0
4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่ง เรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็น ลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) 0
5. มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่ เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 0

7.3.    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีแผนระบบสารสนเทศ (information system plan) 0
2. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้อง ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถ นําไปใช้ในการดําเนินงานประกันคุณภาพ 0
3. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ 0
4. มีการนําผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ 0
5. มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตามที่กําหนด 0

7.4.    ระบบบริหารความเสี่ยง
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและ ตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน 0
2. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตาม บริบทของสถาบัน 0
3. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการ วิเคราะห์ในข้อ 2 0
4. มีการจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดําเนินการตามแผน 0
5. มีการติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานตามแผน และรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อ พิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 0
6. มีการนําผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป 0

08 การเงินและงบประมาณ
8.1.    มีระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบัน 0
2. มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงิน อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 0
3. มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนาสถาบันและบุคลากร 0
4. มีการจัดทํารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อสภาสถาบันอย่างเป็นน้อย ปีละ 2 ครั้ง 0
5. มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและ ความมั่นคงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง 0
6. มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทําหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตาม ระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกําหนด 0
7. ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนําข้อมูลจากรายงาน ทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ 0

09 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
9.1.    ระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพันธกิจ และพัฒนาการของสถาบัน ตั้งแต่ระดับภาควิชา หรือหน่วยงานเทียบเท่า และดําเนินการตาม ระบบที่กําหนด 0
2. มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดย คณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน 0
3. มีการกําหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเติมตามอัตลักษณ์ของสถาบัน 0
4. มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย1) การ ควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็น รายงานประเมินคุณภาพเสนอต่อสภาสถาบันและสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตาม กําหนดเวลา โดยเป็นรายงานที่มีข้อมูลครบถ้วนตามที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กําหนดใน CHE QA Online และ 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนา คุณภาพการศึกษาของสถาบัน 0
5. มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการ พัฒนาผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ 0
6. มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบทั้ง 9 องค์ประกอบคุณภาพ 0
7. มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้ใช้ บัณฑิต และผู้ใช้บริการตามพันธกิจของสถาบัน 0
8. มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างสถาบันและมี กิจกรรมร่วมกัน 0
9. มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น และ เผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์ 0

10 สถานศึกษา 3ดี (3D)
10.1.    การบริหารจัดการสถานศึกษา 3 ดี
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. การบริหารจัดการสถานศึกษา 3 ดี 0

10.2.    ผลที่เกิดกับผู้เรียนตามนโยบาย 3 ดี มีความรู้ มีเจตคติที่ดี ตลอดจนเกิดพฤติกรรม
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. ผลที่เกิดกับผู้เรียนตามนโยบาย 3 ดี มีความรู้ มีเจตคติที่ดี ตลอดจนเกิดพฤติกรรม 0

11 อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
11.1.    ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา 0

11.2.    ระดับความสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสร้างอาชีพในชุมชน
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. ระดับความสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสร้างอาชีพในชุมชน 0

11.3.    ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการ/วิชาชีพแก่สังคม
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. ระดับความสำเร็จของการบริการวิชาการ/วิชาชีพแก่สังคม 0

11.4.    ระดับความสำเร็จการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
   เกณฑ์มาตรฐาน :
1. ระดับความสำเร็จการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 0


รวมจำนวนองค์ประกอบ ทั้งหมด 11 องค์ประกอบ